หัวข้อ   “ คนกรุงกับเทศกาลกินเจเดือน 9 สองครั้งในรอบ 132 ปี
คนกรุงเทพฯ กว่า 1 ใน 3 ตั้งใจว่าจะกินเจรอบ 2 โดย 63.6% กินเพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์
72.0% วอนรัฐช่วยดูแลราคาอาหารเจไม่ให้สูงเกินไป และเมื่อพูดถึงเทศกาลกินเจ
จะนึกถึงธงเหลือง เจ้าแม่กวนอิมมากที่สุด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 24 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2557 ที่จะถึงนี้ จะเข้าสู่
“เทศกาลกินเจ” ซึ่งในปีนี้จะมีเทศกาลกินเจถึง 2 ครั้งในรอบ 132 ปี ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์ จึงได้สำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนกรุงกับเทศกาลกินเจเดือน 9 สองครั้งในรอบ
132 ปี” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน
1,188 คน
พบว่า
 
                  คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 25.7 ระบุว่าจะกินเจทั้ง 2 รอบ ขณะที่ร้อยละ
11.1 ระบุว่ากินรอบแรกแค่รอบเดียว และร้อยละ 9.5 ระบุว่าไม่ได้กินรอบแรกแต่คาดว่า
จะกินรอบ 2 ทั้งนี้มีร้อยละ 53.7 ไม่ได้เข้าร่วมเทศกาลกินเจทั้ง 2 รอบ
 
                 ผลสำรวจยังเผยอีกว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8 อยากไปท่องเที่ยว
และสัมผัสกับบรรยากาศของเทศกาลกินเจในกรุงเทพฯ มากที่สุด
รองลงมา ร้อยละ
34.8 อยากไปจังหวัดภูเก็ต และร้อยละ 14.3 อยากไปจังหวัดนครสวรรค์
 
                 ส่วนสิ่งที่คนกรุงเทพฯ นึกถึงมากที่สุดเมื่อพูดถึงเทศกาลกินเจ (ไม่นับรวมอาหารเจ) คือ ธงเหลือง
(ร้อยละ 57.2)
รองลงมาคือ เจ้าแม่กวนอิม (ร้อยละ 41.4) ตามมาด้วย วัดจีนหรือศาลเจ้า (ร้อยละ 25.3) คนทรงเจ้า
หรือม้าทรง (ร้อยละ19.1) และมังกร (ร้อยละ12.8)
 
                 เมื่อถามถึงราคาของอาหารเจมีผลต่อการตัดสินใจในการเข้าร่วมเทศกาลกินเจมากน้อยเพียงใด
พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.5 เห็นว่ามีผลน้อยถึงน้อยที่สุด
ในขณะที่ร้อยละ 34.3 เห็นว่ามีผลมากถึงมากที่สุด
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลราคาอาหารเจไม่ให้สูงเกินไปหรือไม่ โดยร้อยละ
72.0 เห็นว่าควรให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแล
ขณะที่ร้อยละ 14.7 เห็นว่าไม่ควร
 
                 ส่วนความตั้งใจที่คิดว่าจะเข้าร่วมเทศกาลกินเจรอบ 2 พบว่ามีเพียงร้อยละ 35.2 ในจำนวนนี้
ร้อยละ 19.3 คาดว่าอาจจะกินไม่ครบทั้ง 9 วัน
และร้อยละ 15.9 ตั้งใจจะกินครบทั้ง 9 วัน ขณะที่ร้อยละ 53.7
ตั้งใจว่าจะไม่กินเจในรอบที่ 2 ที่จะถึงนี้ ที่เหลือร้อยละ 11.1 ยังไม่แน่ใจ
 
                 เมื่อถามเหตุผลสำคัญที่ต้องการเข้าร่วมในเทศการกินเจในรอบที่ 2 คือ เพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์
(ร้อยละ 63.6)
รองลงมาเพื่อสุขภาพ (ร้อยละ 43.1) และเห็นว่าเป็นปีที่มีเดือน 9 สองครั้งเป็นสิริมงคล (ร้อยละ 22.6)
 
                 สำหรับราคาอาหารเจต่อมื้อที่รับได้นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.6 อยากให้อยู่ในช่วงราคา 35-50 บาท
รองลงมาร้อยละ 34.1 อยากให้ไม่เกิน 35 บาท และมีร้อยละ 6.8 อยากให้อยู่ในช่วงราคา 50-65 บาท
 
                 สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อร้านขายอาหารเจว่าจะไม่มีการปนเปื้อนจาก DNA เนื้อสัตว์พบว่า
ส่วนใหญ่ร้อยละ 43.9 เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 34.2 เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด
 
 
                 โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1. การกินเจในรอบแรก (วันที่ 24ก.ย.-3ต.ค. 57) ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
กินรอบแรกและคาดว่าจะกินรอบ 2
25.7
กินรอบแรกแต่จะไม่กินรอบ 2
11.1
ไม่ได้กินรอบแรกแต่คาดว่าจะกินรอบ 2
9.5
ไม่ได้กินเจ
53.7
 
 
             2. สถานที่จัดเทศกาลกินเจที่อยากท่องเที่ยวและสัมผัสบรรยากาศมากที่สุด (5 อันดับแรก)
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
กรุงเทพฯ
57.8
ภูเก็ต
34.8
นครสวรรค์
14.3
กระบี่
5.2
ชลบุรี
4.0
 
 
             3. ถ้าไม่นับรวมอาหารเจ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงเทศกาลกินเจมากที่สุดคือ (5อันดับแรก)

 
ร้อยละ
ธงเหลือง
57.2
เจ้าแม่กวนอิม
41.4
วัดจีน/ศาลเจ้า
25.3
คนทรงเจ้า /ม้าทรง
19.1
มังกร
12.8
 
 
             4. ราคาอาหารเจมีผลต่อการตัดสินใจกินเจหรือกินอาหารเจมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
มีผลมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมีผลมากร้อยละ 25.1 และมีผลมากที่สุดร้อยละ 9.2)
34.3
มีผลน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมีผลน้อยร้อยละ 25.7 และมีผลน้อยที่สุดร้อยละ 29.8)
55.5
ไม่แน่ใจ
10.2
 
 
             5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ควรให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลราคาอาหารเจไม่ให้สูงมากจนเกินไปหรือไม่”

 
ร้อยละ
ควรให้เข้ามาช่วยดูแล
72.0
ไม่ควรให้เข้ามาช่วยดูแล
14.7
ไม่แน่ใจ
13.3
 
 
             6. ความตั้งใจจะกินเจในรอบที่ 2 ที่จะถึงนี้

 
ร้อยละ
ตั้งใจว่าจะกิน
  กินครบทั้ง 9 วัน ร้อยละ 15.9
  กินแต่อาจจะไม่ครบทั้ง 9 วัน ร้อยละ 19.3
35.2
ไม่กินเจเลยทั้ง 2 รอบ
53.7
กินรอบแรกรอบเดียว
11.1
 
 
             7. เหตุผลหลักที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ (5 อันดับแรก)
                 (ถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจรอบ 2 และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
กินเพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์
63.6
กินเพื่อสุขภาพ
43.1
กินเพราะเป็นปีที่มีเดือน 9 สองครั้งเป็นสิริมงคล
22.6
กินเพราะปฏิบัติมาทุกปี
22.2
อยากลองกินเพื่อให้เข้ากับเทศกาล
9.7
 
 
             8. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ราคาอาหารเจต่อมื้อที่พอรับได้ไม่ควรเกินมื้อละเท่าไหร่”
                 (ถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจรอบ 2)

 
ร้อยละ
ไม่เกิน 35 บาท
34.1
35-50 บาท
56.6
50-65 บาท
6.8
65-80 บาท
2.1
มากกว่า 80 บาท
0.4
 
 
             9. ความเชื่อมั่นต่อร้านที่ขายอาหารเจว่าจะไม่มีการปนเปื้อน DNA จากเนื้อสัตว์ผสมในอาหารพบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นมากร้อยละ 34.3 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 9.6)
43.9
เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นน้อยร้อยละ 25.9 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 8.3)
34.2
ไม่แน่ใจ
21.9
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  - เพื่อสะท้อนถึงความตั้งใจและเหตุผลในการกินเจรอบ 2 ที่จะถึงนี้
                  - เพื่อสะท้อนถึงสถานที่ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงเทศกาลกินเจ
                  - เพื่อสะท้อนราคาอาหารเจว่ามีผลต่อการตัดสินใจกินเจหรือกินอาหารเจมากน้อยเพียงใด
                  - เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนที่อยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลราคาอาหารเจไม่ให้สูงจนเกินไป
                  - เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อร้านอาหารเจว่าจะไม่มีการปนเปื้อน DNA เนื้อสัตว์ผสมในอาหารเจ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 23 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ
บางเขน บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ
สวนหลวง สัมพันธวงศ์ สาทรและหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้น
ใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,188 คน เป็นชายร้อยละ 47.5 และหญิง
ร้อยละ 52.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 17 – 19 ตุลาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 22 ตุลาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
564
47.5
             หญิง
624
52.5
รวม
1,188
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
290
24.4
             26 – 35 ปี
321
27.0
             36 – 45 ปี
280
23.6
             46 ปีขึ้นไป
297
25.0
รวม
1,188
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
711
59.9
             ปริญญาตรี
410
34.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
67
5.9
รวม
1,188
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
91
7.7
             ลูกจ้างเอกชน
431
36.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว
373
31.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
64
5.4
             ทำงานให้ครอบครัว
10
0.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
67
5.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
129
10.9
             ว่างงาน/ เกษตรกร
23
1.9
รวม
1,188
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776